สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในระดับที่หลายประเทศเริ่มแสดงความวิตกถึงผลกระทบที่จะตามมาในช่วงสิ้นปีนี้ และในปี 2562 โดยสะท้อนออกมาอย่างเด่นชัดในปฏิกิริยาของตลาดหุ้นทั่วโลกที่ทรุดตัวหลายระลอก และอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าที่เริ่มอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินสกุลดออลาร์ของสหรัฐ รวมถึงเงินบาท
ชนวนปะทุของสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสอง ได้เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 25% รวมทั้งสิ้น 1,102 รายการ มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม จนกระตุ้นให้จีนต้องดำเนินมาตรการตอบโต้ทันที ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ ในอัตราเดียวกัน เป็นมูลค่าเท่ากันและมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกับสหรัฐ
จากนั้น ในวันที่ 23 สิงหาคม มาตรการตอบโต้จีนระลอกที่สอง ก็เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยสหรัฐสั่งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ในอัตรา 25% เป็นมูลค่าอีก 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยครั้งล่าสุด สินค้าเป้าหมายมีทั้งสิ้น 279 รายการ ในจำนวนนั้น รวมถึงสิ้นค้าเซมิคอนดักเตอร์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์ มาตรวัดความเร็ว และอุปกรณ์สร้างรางรถไฟ
และในวันที่ 24 กันยายน มาตรการกำแพงภาษีต่อสินค้าจีนรอบที่สาม มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยเริ่มเก็บจาก 10% และเพิ่มเป็น 25% ในช่วงปีหน้า เว้นแต่ว่าทั้งสองประเทศจะเจรจากันได้ ครอบคลุมสินค้าเกือบ 6,000 รายการ ซึ่งถือเป็นมาตรการตอบโต้ทางภาษีกับสินค้านำเข้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาของสหรัฐฯ
สงครามค่าเงินแนวรบใหม่
จากการเปิดเผยรายงานนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Economic and Exchange Rate Policy) โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โดยได้แสดงความกังวลต่อการอ่อนค่าลงมากกว่า 7% ของเงินหยวนตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมทั้งกล่าวหาจีนว่า ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนไม่โปร่งใส ซึ่งนอกเหนือจากจีนแล้ว กระทรวงคลังสหรัฐยังจับตามองนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์
หากประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันลดค่าเงิน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อกระตุ้นการส่งออกและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ย่อมนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดสงครามค่าเงินและยกระดับปัญหาสงครามการค้าให้ซับซ้อนขึ้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ มองเห็นต่างกับรายงานของสหรัฐ โดยมาร์คัส รอดเลอร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเอเชียและแปซิฟิก เชื่อว่า โดยภาพรวม เงินหยวนยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่
มหาอำนาจปะทะสั่นสะเทือนทั้งโลก
นอกเหนือจากจีนแล้ว สหรัฐฯ ยังได้ดำเนินมาตรการกำแพงภาษี 25% และอลูมิเนียม 10% ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป เม็กซิโก และแคนาดาด้วย ถือเป็นการเปิดแนวรบหลาย ๆ ด้าน ภายในปีเดียวของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อประเทศคู่ค้ารายอื่น ๆ ของประเทศเหล่านี้ รวมถึงบริษัทอเมริกันเองด้วย
ในแง่ผลกระทบต่อบริษัทในสหรัฐ พบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ และเจเนอรัล มอเตอร์ ซึ่งทั้งสองแห่งได้ประกาศตัวเลขคาดการณ์ผลกำไร ปี 2561 ว่า มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องจากมาตรการกำแพงภาษีเหล็ก 25% และอลูมิเนียม 10%
ขณะเดียวกัน ดิ อิโคโนมิสต์ คาดการณ์ว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าทางอ้อม เป็นประเทศในเอเขีย ที่ผลิตสินค้าป้อนให้กับจีน หรือ อยู่ในห่วงโซการผลิตของจีน เนื่องจาก 30% ของมูลค่าสินค้าจีนที่ส่งไปขายในสหรัฐฯ มีแหล่งผลิตจากประเทศที่สาม
สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกของไทยอาจเสียหายถึง 149,800 ล้านบาท หากสงครามการค้ายืดเยื้อไปจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์ยอมรับว่า การส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้านี้บ้างแล้ว โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเครื่องใช้อิเลกทรอนิกส์ เช่นเครื่องซักผ้า และแผงโซลาเซลส์
สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มจะจบลงได้ยากในอนาคตอันใกล้ นั่นอาจหมายถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะเสียสมดุล และเดินเข้าสู่ภาวะซบเซาอีกครั้ง ดังผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ อ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า ปี 2562 เศรษฐกิจโลกจะหวนกลับมาอยู่ในภาวะซบเซา โดยหนึ่งในปัจจัยของความกังวลมาจากสงครามการค้าของสหรัฐ เพราะสงครามการค้ารอบนี้ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรมและหลายประเทศอย่างมหาศาล
ชนวนปะทุของสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสอง ได้เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 25% รวมทั้งสิ้น 1,102 รายการ มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม จนกระตุ้นให้จีนต้องดำเนินมาตรการตอบโต้ทันที ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ ในอัตราเดียวกัน เป็นมูลค่าเท่ากันและมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกับสหรัฐ
จากนั้น ในวันที่ 23 สิงหาคม มาตรการตอบโต้จีนระลอกที่สอง ก็เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยสหรัฐสั่งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ในอัตรา 25% เป็นมูลค่าอีก 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยครั้งล่าสุด สินค้าเป้าหมายมีทั้งสิ้น 279 รายการ ในจำนวนนั้น รวมถึงสิ้นค้าเซมิคอนดักเตอร์ พลาสติก เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์ มาตรวัดความเร็ว และอุปกรณ์สร้างรางรถไฟ
และในวันที่ 24 กันยายน มาตรการกำแพงภาษีต่อสินค้าจีนรอบที่สาม มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยเริ่มเก็บจาก 10% และเพิ่มเป็น 25% ในช่วงปีหน้า เว้นแต่ว่าทั้งสองประเทศจะเจรจากันได้ ครอบคลุมสินค้าเกือบ 6,000 รายการ ซึ่งถือเป็นมาตรการตอบโต้ทางภาษีกับสินค้านำเข้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาของสหรัฐฯ
สงครามค่าเงินแนวรบใหม่
จากการเปิดเผยรายงานนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Economic and Exchange Rate Policy) โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โดยได้แสดงความกังวลต่อการอ่อนค่าลงมากกว่า 7% ของเงินหยวนตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมทั้งกล่าวหาจีนว่า ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนไม่โปร่งใส ซึ่งนอกเหนือจากจีนแล้ว กระทรวงคลังสหรัฐยังจับตามองนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์
หากประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันลดค่าเงิน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อกระตุ้นการส่งออกและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ย่อมนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดสงครามค่าเงินและยกระดับปัญหาสงครามการค้าให้ซับซ้อนขึ้น
อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ มองเห็นต่างกับรายงานของสหรัฐ โดยมาร์คัส รอดเลอร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเอเชียและแปซิฟิก เชื่อว่า โดยภาพรวม เงินหยวนยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่
มหาอำนาจปะทะสั่นสะเทือนทั้งโลก
นอกเหนือจากจีนแล้ว สหรัฐฯ ยังได้ดำเนินมาตรการกำแพงภาษี 25% และอลูมิเนียม 10% ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป เม็กซิโก และแคนาดาด้วย ถือเป็นการเปิดแนวรบหลาย ๆ ด้าน ภายในปีเดียวของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อประเทศคู่ค้ารายอื่น ๆ ของประเทศเหล่านี้ รวมถึงบริษัทอเมริกันเองด้วย
ในแง่ผลกระทบต่อบริษัทในสหรัฐ พบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ และเจเนอรัล มอเตอร์ ซึ่งทั้งสองแห่งได้ประกาศตัวเลขคาดการณ์ผลกำไร ปี 2561 ว่า มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องจากมาตรการกำแพงภาษีเหล็ก 25% และอลูมิเนียม 10%
ขณะเดียวกัน ดิ อิโคโนมิสต์ คาดการณ์ว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าทางอ้อม เป็นประเทศในเอเขีย ที่ผลิตสินค้าป้อนให้กับจีน หรือ อยู่ในห่วงโซการผลิตของจีน เนื่องจาก 30% ของมูลค่าสินค้าจีนที่ส่งไปขายในสหรัฐฯ มีแหล่งผลิตจากประเทศที่สาม
สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกของไทยอาจเสียหายถึง 149,800 ล้านบาท หากสงครามการค้ายืดเยื้อไปจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์ยอมรับว่า การส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้านี้บ้างแล้ว โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเครื่องใช้อิเลกทรอนิกส์ เช่นเครื่องซักผ้า และแผงโซลาเซลส์
สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มจะจบลงได้ยากในอนาคตอันใกล้ นั่นอาจหมายถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะเสียสมดุล และเดินเข้าสู่ภาวะซบเซาอีกครั้ง ดังผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ อ้างความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่า ปี 2562 เศรษฐกิจโลกจะหวนกลับมาอยู่ในภาวะซบเซา โดยหนึ่งในปัจจัยของความกังวลมาจากสงครามการค้าของสหรัฐ เพราะสงครามการค้ารอบนี้ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรมและหลายประเทศอย่างมหาศาล